วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ความหมายของวรรณกรรม

ความหมายของวรรณกรรม
คำว่า วรรณกรรม เป็นคำใหม่มีใช้ครั้งแรกตามพระราชบัญญติคุ้มครองศิลปะและวรรณกรรมพุทธศักราช 2485 ในเอกสารเรื่องวัฒนธรรมของวรรณกรรมฉบับที่ 6 ของกระทรวงวัฒนธรรมให้ความหมายวรรณกรรมไว้ว่า “วรรณกรรม” คือหนังสือซึ่งมีผู้แต่งขึ้น แบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ 2 ประเภทคือ ประเภทความเรียงหรือร้อยแก้ว และประเภทคำประพันธ์หรือร้อยกรอง หนังสือที่จัดเป็นวรรณกรรมชั้นดีนั้น คือ หนังสือชั้นดี มีลักษณะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อ่าน และมีแก่นสารที่จะยึดถือเอามาอ้างอิงได้ วรรณกรรมโดยทั่วไปมีคุณค่า ทั้งรูปแบบและเนื้อหา ผู้ที่อ่านวรรณกรรมจึงควรพินิจพิจารณาให้รอบคอบว่า วรรณกรรมเรื่องนั้น ๆ มีคุณค่าดังกล่าวหรือไม่ การอ่านโดยพินิจพิจารณา และใช้สติปัญญาอย่างรอบคอบ รวมทั้งสามารถแสดงเหตุผลประกอบได้อย่างถูกต้อง เรียกว่า เป็นการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ลักษณะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณจะต้องประกอบด้วยการใช้สติปัญญาในการวิเคราะห์ พินิจพิจารณา ไตร่ตรอง ตัดสินใจและประเมินค่าข้อความที่อ่าน เพื่อให้รู้ถึงแก่นของเรื่อง และรู้จักวิเคราะห์ วิจารณ์เรื่องที่อ่าน อันเป็นการก่อให้เกิดความคิดในระดับสูงขึ้น
วรรณกรรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. วรรณกรรมร้อยแก้ว หมายถึง หนังสือประเภทความเรียงที่ใช้ถ้อยคำ สละสลวย สำนวน โวหารลึกซึ้งกินใจ เต็มไปด้วยอรรถรส ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจมีคุณค่าและมีประโยชน์ต่อผู้อ่าน วรรณกรรมประเภทนี้ ได้แก่ เรื่องบันเทิงคดีและสารคดีทั่วไป เช่นนวนิยายเรื่องสั้นบทละคร หนังสือธรรมะ ชีวประวัติ การท่องเที่ยว เป็นต้น
2. วรรณกรรมร้อยกรอง หมายถึง วรรณกรรมที่แต่งเป็นคำประพันธ์ประเภทต่างๆ เช่นแต่งเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอนและร่าย หนังสือที่แต่งเป็นคำประพันธ์เหล่านี้ บางเล่มก็ได้รับยกย่องให้เป็นวรรณคดี วรรณคดีหมายถึงวรรณกรรมที่แต่งดีถึงขนาดเป็นแบบอย่างได้ ภาษาที่ใช้ก็ไพเราะและประณีต ให้คุณค่าและให้ความบันเทิงใจ วรรณกรรมมีหลายรูปแบบ แต่ละแบบมีกลวิธีในการนำเสนอต่างกันออกไป ควรอ่านและพิจารณาองค์ประกอบของวรรณกรรมแต่ละรูปแบบ ดังต่อไปนี้
1. การวางโครงเรื่อง ผู้เรียนต้องดูเกี่ยวกับเหตุการณ์ของเรื่องที่เกิดขึ้น สถานที่หรือพฤติกรรมตังละครที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เกิดขึ้น
2. แนวเรื่องและการดำเนินเรื่อง มีความน่าสนใจมากน้อยเพียงใด
3. ภาษาที่ใช้เหมาะสมกับเรื่องหรือไม่
4. กลวิธีในการเขียน ใช้กลวิธีอย่างไรในการนำเสนอ ตรงไปตรงมา สลับซับซ้อนหรืออ้อมค้อมอย่างไร
ในการอ่านวรรณกรรมแต่ละรูปแบบนั้น ควรมีวิจารณญาณในการอ่าน
การใช้วิจารณญาณในการอ่านวรรณกรรมควรพิจารณาหลายด้าน คือ
1. วิจารณญาณด้านรูปแบบ ให้ผู้อ่านพิจารณาว่าวรรณกรรมนั้นใช้รูปแบบใด รูปแบบในการเขียนอาจเป็นร้อยแก้ว หรือร้อยกรองก็ได้อาจเป็นบทความที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ หรือออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงแล้วมีผู้นำมาพิมพ์ก็ได้ อาจเป็นนวนิยายเรื่องสั้น ฯลฯ
2. วิจารณญาณด้านเนื้อเรื่อง แยกเนื้อเรื่องออกเป็นส่วน ๆ ให้เห็นได้ว่า ใครทำอะไรที่ไหน อย่างไร และเมื่อไร
3. วิจารณญาณด้านภาษา ว่ามีวิธีการใช้ภาษาอย่างไร ทั้งด้านสำนวน โวหาร ถ้อยคำด้านความหมาย และความไพเราะของเสียงว่ามีความหมายลึกซึ้ง และเสียงไพเราะอย่างไร รวมทั้งการใช้ภาษาเหมาะสมกับรูปแบบคำประพันธ์หรือไม่
4. วิจารณญาณด้านกลวิธีในการเขียน พิจารณาให้เห็นว่าผู้เขียนใช้กลวิธีอย่างไรในการนำเสนอเรื่องนั้น ๆ

วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2550

วรรณกรรม

วรรณกรรม (Literature) เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการใช้ภาษา เพื่อการสื่อสารเรื่องราวให้เข้าใจ ระหว่างมนุษย์ ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์คิดค้น และสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้สื่อความหมาย เรื่องราวต่าง ๆ ภาษาที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารได้แก่
1. ภาษาพูด โดยการใช้เสียง

2. ภาษาเขียน โดยการใช้ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ และภาพ
3. ภาษาท่าทาง โดยการใช้กิริยาท่าทาง หรือประกอบวัสดุอย่างอื่น

ความงามหรือศิลปะในการใช้ภาษา ขึ้นอยู่กับ การใช้ภาษาให้ถูกต้อง ชัดเจน และ เหมาะสมกับเวลา โอกาส และบุคคล นอกจากนี้ ภาษาแต่ละภาษายังสามารถปรุงแต่ง ให้เกิดความเหมาะสม ไพเราะ สวยงามได้ ชาติไทย เป็นชาติที่มีอารยะธรรมเก่าแก่ มี ภาษที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง ทั้งภาษาพูด และภาษาเขียน นอกจากนี้ ยังมี ความคิดสร้างสรรค์ในการใช้ภาษาได้อย่างไพเราะ ถือเป็นความงามของการใช้ภาษา จากการแต่งโคลง กลอน คำประพันธ์ ร้อยแก้วต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมีการบัญญัติคำ ราชาศัพท์ คำสุภาพ ขึ้นมาใช้ได้อย่างเหมาะสม แสดงให้เห็นวัฒนธรรมที่เป็นเลิศทาง การใช้ภาษาที่ควรดำรง และยึดถือต่อไป ผู้สร้างสรรค์งานวรรณกรรม เรียกว่า นักเขียน นักประพันธ์ หรือ กวี (Writer or Poet)
วรรณกรรมไทย แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ

1. ร้อยแก้ว เป็นข้อความเรียงที่แสดงเนื้อหา เรื่องราวต่าง ๆ
2. ร้อยกรอง เป็นข้อความที่มีการใช้คำที่สัมผัส คล้องจอง ทำให้สัมผัสได้ถึงความ งานมของภาษาไทย ร้อยกรองมีหลายแบบ คือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550

วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ตอบคำถาม

1.สุนทรียศาสตร์ ( Aesth etics ) คืออะไร ?
สุนทรียศาสตร์ มาจากภาษาสันสฤตว่า “ สุนทรียะ ” แปลว่า “ งาม ” และ “ ศาสตร์ ” แปลว่า “ วิชา ” เมื่อรวมความแล้วจึงแปลได้ว่า “ วิชาที่ว่าด้วยสิ่งสวยงาม ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Aesthetics” (เอ็ซเธทถิกส์) โดยศัพท์คำนี้เกิดจากนักปรัชญาเหตุผลนิยมชาวเยอรมันชื่อ โบมกาเต้น ( Alexander Gottlieb Baumgarten ) ซึ่งสร้างคำจากภาษากรีกคำว่า “Aisthetikos” (อีสเธทิโคส) แปลว่า “ รู้ได้ด้วยผัสสะ ”
ความงามอาจเป็นสิ่งลึกซึ้งที่มีอยู่ในทุกสิ่ง อาจจะเป็นสิ่งบริสุทธิ์ที่ปราศจากการปรุงแต่ง หรืออาจจะเป็นคุณสมบัติในทางศีลธรรม หรือสิ่งที่โน้มน้าวใจให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้ง ปลาบปลื้ม ความงามอาจมีอยู่รอบๆ ตัวเรา ทั้งสิ่งที่มนุษย์เราสร้างขึ้นมาเอง ทั้งสิ่งที่เกิดโดยธรรมชาติ
ศัพท์ Aesthetics ในภาษาอังกฤษกำหนดไว้ให้หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยศิลปะโดยทั่วไป อาจแบ่งเป็นสาขาต่าง ๆ ดังนี้
• ประวัติศาสตร์ศิลปะ ( History of Art )
• ศิลปวิจารณ์ ( Criticism of Art )
• ทฤษฎีศิลปะ ( Theory of Art )
• จิตวิทยาศิลปะ ( Psychology of Art )
• สังคมวิทยาศิลปะ ( Sociology of Art )
• ปรัชญาศิลปะ ( Philosophy of Art )
สุนทรียศาสตร์
ความหมายของสุนทรีศาสตร์ เป็นคำตรงกับภาษาอังกฤษว่า “aesthetic” แปลว่าการศึกษาเรื่องความงาม หรือปรัชญาความงาม บางครั้งยังหมายถึงปรัชญาศิลปะซึ่งให้นิยามว่า “วิชาที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของความงาม” บางคนเข้าใจว่าสองคำนี้ความหมายเหมือนกัน แต่เป็นการเข้าใจไม่ถูกต้องเพราะความงามไม่ได้มีเฉพาะในศิลปะเท่านั้น (Randall and others, 1970 : 279) ในภาษาไทยสุนทรียศาสตร์มาจากคำว่า “สุนทรีย” แปลว่า เกี่ยวกับความนิยมความงาม กับคำว่า “ศาสตร์” แปลว่า วิชา ดังนั้น สุนทรียศาสตร์จึงแปลว่า วิชาว่าด้วยความนิยมความงาม (พจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 : 2525 : 84)
วิชาสุนทรียศาสตร์ ศึกษาเกี่ยวกับความงามซึ่งอาจเป็นความงามในธรรมชาติหรือความงามทางศิลปะก็ได้ เพราะในผลงานาทางศิลปะ เราถือว่าเป็นสิ่งที่ดีความงามอยู่ด้วยนอกจากนี้สุนทรียศาสตร์ยังศึกษาวิชาที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกของการรับรู้ความงาม วิชาที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์ของคุณลักษณะของความงาม คุณค่าของความงาม และรสนิยม วิชาที่ส่งเสริมให้สอบสวนและแสวงหาหลักเกณฑ์ของความงามสากลในลักษณะของรูปธรรมที่เห็นได้ชัด รับรู้ได้และชื่นชมได้ วิชาที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ตรงของบุคคล สร้างพฤติกรรม ความพอใจโดยไม่หวังผลตอบแทนในการปฏิบัติ เป็นความรู้สึกพอใจเฉพาะตน สามารถเผื่อแผ่เสนอแนะผู้อื่นให้มีอารมณ์ร่วมรู้สึกด้วยได้ วิชาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาพฤติกรรมตอบสนองของมนุษย์จากสิ่งเร้าภายนอกตามเงื่อนไขของสถานการณ์ เรื่องราวความเชื่อ และผลงานที่มนุษย์สร้าง

2.ประโยชน์และขอบข่ายของสุนทรียศาสตร์
เป็นศาสตร์แห่งความงามมีจุดหมายอยู่ที่การเปิดเผยและการจัดระเบียบ หลักการต่าง ๆ ที่แตกต่างกันของความงาม สุนทรียศาสตร์มีวิธีการค้นหาความงาม อยู่ 2 อย่าง เรียกว่าวัตถุวิสัย และอัตตวิสัย

1. สุนทรียศาสตร์มีวิธีการเป็นวัตถุวิสัย เพราะสุนทรียศาตร์มุ่งพิจารณาวัตถุต่าง ๆ เช่น ภาพพิมพ์ ดนตรี เป็นต้น ในฐานะที่เป็นสิ่งที่สวยงาม สุนทรียศาสตร์ค้นหาคุณลักษณะทั่วไปที่สวยงามและคุณลักษณะอย่างอื่นของวัตถุเหล่านั้นด้วย
2. สุนทรียศาสตร์มีวิธีการเป็นอัตตวิสัย เพราะสุนทรียศาสตร์พยายามค้นหาความหมายของสิ่งที่เราเรียกว่าประสบการณ์ทางสุนทรียะของคนดู สุนทรียศาสตร์พยายามค้นหาความแตกต่างและความสัมพันธ์กันระหว่างประสบการณ์สุนทรียะและประสบการณ์อย่างอื่น
จุดมุ่งหมายของสุนทรียศาสตร์เป็นแต่เพียงภาคทฤษฎีเท่านั้น มิใช่ภาคปฏิบัติและจุดมุ่งหมายของสุนทรียศาสตร์นี้ ก็เป็นแต่เพียงการสอนพวกเราเกี่ยวกับหลักการต่าง ๆ ของความงาม มิใช่ต้องการเพื่อที่จะสร้างพวกเราให้เป็นนักวาดเขียนหรือนักดนตรี เพราะว่ามีข้อแตกต่างกํนัระห่างความรู้เรื่องหลักการแห่งความงามและหลักการฝึกฝนภาคปฏบัติ ในการสร้างงานศิลปะ การสร้างงานศิลปะนั้นเรียกหาการฝึกฝนภาคปฏิบัติบางประการ และขึ้นอยู่กับสติปัญญาภายในของแต่ละบุคคล การศึกษาสุนทรียศาสตร์มิได้รับประกันว่าจะต้องให้การฝึกหัดและรูปแบบแก่พวกเรา ดังนั้นโดยจุดมุ่งหมายแล้วสุนทรียศาสตร์จึงเป็นเพียงภาคทฤษฎีเท่านั้น แต่ถ้าบุคคลมีรูปแบบบางอย่างและการฝึกภาคปฏิบัติอยู่บ้างแล้ว การศึกษาสุนทรียศาสตร์ก็จะช่วยให้บุคคลเหล่านั้นได้พัฒนารูปแบบและการปฏิบัติจริงให้สำเร็จผลมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ประสิทธิภาคแห่งศิลปะภาคปฏิบัติจึงไม่ใช่ผลโดยตรงจากการศึกษาสุนทรียศาสตร์แต่การศึกษาสุนทรียศาสตร์อาจมีผลโดยทางอ้อมต่อความพยายามของมนุษย์ในการสร้างงานศิลป์
สุนทรียศาสตร์มิได้เรียกร้องถึงขอบเขตอันสูงส่งในฐานะที่เป็นวิชาที่สืบค้นถึงเนื้อหาของมันเอง เพราะว่าวัตถุชนิดเดียวกันและเหมือนกัน อาจจะถูกศึกษาโดยประเด็นที่แตกต่างกัน เช่น ภาพเขียน นักเรขาคณิตอาจจะศึกษาจากแง่คิดในแง่ของเส้นของมุมต่าง ๆ นักวิทยาศาสตร์อาจจะศึกษาจากแง่คิดในเรื่องของเคมีซึ่งใช้ในการเขียนภาพเขียน นักจิตวิทยาอาจจะศึกษาจากแง่คิดแห่งองค์ประกอบทางจิตวิทยาต่าง ๆ ที่รับผิดชอบต่อการสร้างภาพเขียนแต่สุนทรียศาสตร์มีแง่คิดอันเด่นชัดเป็นของตนเอง สุนทรียศาสตร์พยายามค้นหาปรากฎการณ์ภายในต่าง ๆ ที่ภาพเขียนแต่ละชนิดจะพึงมีในใจของผู้ดู

3.สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อวิชาชีพพยาบาลดังนี้
พยาบาลมีหน้าที่ดูแลและให้การพยาบาลผู้ป่วย พยาบาลจำเป็นที่จะต้องศึกษาวิชานี้ เพื่อช่วยส่งเสริมกระบวนการคิดและการตัดสินความงามอย่างมีเหตุผลและช่วยในการกล่อมเกลาให้เป็นผู้มีจิตใจอ่อนโยนมองโลกในแง่ดี เพื่อเสริมให้เห็นความสำคัญของสรรพสิ่ง มีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตทั้งทางร่างกายและจิตใจ

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2550